แว่นจักรยานเลนส์ปรับแสง จำเป็นต้องใสมั้ย?

เลนส์ปรับแสง

Photochromic sunglasses

เลนส์ปรับแสง หรือ เลนส์photochromic ส่วน transition เป็นชื่อยี่ห้อ ของเลนส์ photochromic

ทำไมจึงกลายเป็นที่นิยมในหมู่นักปั่น

นักปั่นหลายคนปั่นนานขึ้น จึงเจอกับหลายสภาพอากาศ

แว่นจักรยานเลนส์ปรับแสง เป็นแว่นที่ทำใช้ได้กับทุกสภาพอากาศ

การทำงานของเลนส์ ปรับแสง photochromic

เลนส์ปรับแสง จะทำปฏิกริยากับรังสี uv ด้วยสารที่ผสมลงในตัวเลนส์ ที่มีชื่อว่า silver chloride

Photochromic sunglasses

ก่อนโดนรังสี uv : ค่า VLT cat#3= 48%

Photochromic sunglasses
หลังทำปฏิกิริยากับแสง uv :ค่า VLT cat#1= 12%

VLT Range อยู่ระหว่าง cat#1-cat#3

แว่นจักรยาน เลนส์ปรับแสง

ค่า VLT category คืออะไร

ความหมายของ VLT (visible light transmission) คือ ปริมาณแสงที่เลนส์ยอมให้ผ่านได้ ตัวอย่าง

  1. VLT 100% คือแสงผ่านได้หมด เป็นเลนส์ใส
  2. VLT 1% คือแสงแทบจะผ่านไม่ได้ เลนส์มืดสนิท
  3. ส่วน category คือ ช่วง % ที่แสงผ่านได้ เพื่อกำหนดประเภทการใช้งาน

ลักษณะเลนส์ photochromic

  1. เลนส์เปลี่ยนสีเมื่อทำปฏิกริยากับรังสี uv
  2. วันที่ฟ้าครึ้ม ไม่ได้แปลว่าไม่มีรังสี uv เพราะ uv สามารถทะลุผ่านก้อนเมฆได้
  3. การใช้งานภายในรถ จะไม่ทำให้เลนส์เปลี่ยนสี เพราะ รังสีuv ไม่สามารถทะลุผ่านกระจกรถได้
  4. อากาศเย็น เลนส์จะปรับสีเข้ม ได้มากกว่าอากาศร้อน
  5. การเปลี่ยนสีของเลนส์ เป็นเรื่องของการเปลี่ยนค่า VLT ไม่เกี่ยวกับการกัน uv ได้ลดลง
  6. เลนส์ปรับแสง มี 2 แบบ คือแบบจุ่ม กับ แบบเคลือบด้วยฟิล์มเป็นชั้น คุณภาพจะต่างกัน ราคาก็ต่างกัน

การเลือกเลนส์ปรับแสง

1.เลนส์ปรับแสง ที่เคลือบด้วยฟิลม์ เลนส์จะเปลี่ยนสีเร็วกว่า และมีอายุการใช้งานนานกว่า แบบจุ่ม

2. เลนส์ที่ใสเกินไป พอทำปฏิกริยากับรังสี uv จะปรับเป็นสีเข้มได้น้อย ผลคือ แสบตา

ดังนั้น เลนส์ปรับแสงสำหรับปั่นจักรยานจึงไม่จำเป็นต้องใส เมืองไทยอยู่ในเขตที่มีรังสี uv ในระดับสูงสุด

รายละเอียดเพิ่มเติม

Related topic

เลนส์ prizm คืออะไร

ใส่ความเห็น